จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้การประกอบกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัดนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะการประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มักต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก การระดมเงินทุน กิจการในรูปแบบนี้จัดทำได้ง่ายและได้จำนวนมาก นอกจากเงินทุนที่ได้ จะได้จากเจ้าของกิจการผู้เริ่มก่อตั้งแล้ว ยังมีการระดมเงินทุนจากบุคคลทั่วไปด้วยรวมทั้งการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารที่มีความสามารถร่วมกันดำเนินกิจการ ส่งผลให้เป็นกิจการที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือมากประเภทหนึ่ง
บริษัทจำกัด (Limited Company) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ตงลงเข้าร่วมทุนโดยกำหนดทุนออกเป็นหุ้น รวมถึงกำหนดมูลค่าหุ้นไว้ด้วย ใช้คำนำหน้าว่า “บริษัท” และคำว่า “จำกัด” ต่อท้ายชื่อ
คือ องค์การธุรกิจ ซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ
บุคคล ใดๆ ที่ประสงค์จะจัดตั้งบริษัทเป็นของตนเอง จำต้องรู้โครงสร้างเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัทจำกัดก่อน เพื่อนำมาเป็นข้อมูล จัดเตรียมจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ซึ่งโครงสร้างของบริษัทจำกัด มีดังต่อไปนี้
โครงสร้างของบริษัทจำกัด
- ต้องมีผู้ร่วมลงทุนอย่างน้อย 7 คน โดยตาม ป.พ.พ. ที่แก้ไขใหม่ มาตรา1097 บัญญัติว่า บุคคลใดๆ ตั้งแต่สามคนขึ้นไป จะเริ่มก่อการตั้งบริษัทจำกัดก็ได้…ซึ่งหมายความว่า บริษัทจำกัดต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน ซึ่งแตกต่างจากเดิมซึ่ง กฎหมายบัญญัติไว้ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป โดยการแก้ไขกฎหมายใหม่นี้ทำให้มีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ได้ง่ายขึ้น เพราะต้องหา ผู้ร่วมลงทุนน้อยลง
- มีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นเท่าๆกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1096
- มูลค่าหุ้นต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1117
- ความรับผิดของผู้ถือหุ้นมีจำกัด กล่าวคือ จะมีเฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบเท่านั้น (การชำระค่าหุ้น)ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1096
- ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อดีข้อจำกัดของบริษัทจำกัด
- สามารถจัดหาเงินทุนได้จำนวนมากตามที่ต้องการโดยการออกหุ้นจำหน่ายเพิ่ม หรือจัดหาโดยกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งจะได้รับ ความเชื่อถือมากกว่ากิจการประเภทอื่น
- การดำเนินกิจการบริษัทไม่จำกัดระยะเวลาตามอายุของผู้ถือหุ้นดังนั้นระยะเวลาในการดำเนินกิจการจึงยาวกว่าการดำเนินกิจการประเภทอื่น
- ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเฉพาะมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบเท่านั้นโดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินใด ๆ ของบริษัท
- การบริหารงานสามารถหาผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์จัดการแทนได้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน
- ผู้ถือหุ้นของบริษัทสามารถโอนหรือขายหุ้นให้ผู้ใดก็ได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากบริษัทก่อน
ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องเตรียมในการจดทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนบริษัท มีดังนี้
- จองชื่อ บริษัท ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษอย่างน้อย 3 ชื่อ จองชื่อได้แล้วจะต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้จองชื่อ
หมายเหตุ บุคคลที่จองชื่อต้องมีชื่อเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จอง - จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัท ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้จองชื่อ
เตรียมข้อมูลและเอกสารดังนี้
- ชื่อของบริษัท
- รายชื่อผู้ถือหุ้น 3คน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมระบุอาชีพ (ค้าขาย นักธุรกิจ หรือ รับจ้าง)
- จำนวนเงินทุนจดทะเบียน
- รายชื่อกรรมการผู้มีลงนามผูกพันบริษัท
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการ
- ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ / สาขา พร้อมเลขรหัสประจำบ้านของที่ตั้งสำนักงาน
- จัดทำตรายางของบริษัท
- วัตถุประสงค์ของบริษัท ที่จะประกอบกิจการค้า
- จำนวนทุนจดทะเบียน จะต้องแบ่งเป็นหุ้นๆ มีมูลค่าหุ้นเท่าๆกัน (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า5บาท)
ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัท สำหรับทุนจดทะเบียนไม่เกิน1ล้านบาท
- ค่าธรรมเนียม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า x,xxx บาท
- ค่าบริการจดทะเบียนบริษัท x,xxx บาท
- ตรายางบริษัท ฟรี
- รวมค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัททั้งสิ้น x,xxx บาท